Log Management

บริการการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์แบบครบวงจร จากการสื่อสารที่มีฝั่งส่งข้อมูลและฝั่งรับข้อมูล ซึ่งเมื่อมีการรับ-ส่งข้อมูลเกิดขึ้นแล้ว ข้อมูลดังกล่าวจะถูกบันทึกไว้เป็น Log บนเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นห่วงโซ่ของสถานการณ์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้สอดคล้องกับพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

 

Log Record คือ การเก็บบันทึกข้อมูล Log ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้คือ ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจาก Traffic ของข้อมูลระหว่างผู้สื่อสารถึงผู้สื่อสารนั่นเอง

 

การเก็บ Log สำคัญอย่างไร 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ และต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง หากผู้ให้บริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และหากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 5,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง”

 

ใครต้องทำบ้าง

ทุกองค์กรที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตนอกเหนือจากที่ใช้อินเตอร์เน็ตตามบ้าน เช่น บริษัท ห้างร้าน โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอินเตอร์เน็ต
คาร์เฟ่ บ้านเช่า ห้องพัก โดยไม่ระบุถึงจำนวนเครื่องและผู้ใช้งาน โดยองค์กรเหล่านี้จะต้องมีการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน ต้นทาง เส้นทาง วันที่ เวลาที่ส่ง ปริมาณการส่ง ระยะเวลาที่ใช้ในการเชื่อมต่อ และปลายทาง

 

วิธีการจัดเก็บ Log

การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการต้องใช้วิธีการที่มั่นคง ปลอดภัย ดังต่อไปนี้  

  • Media Integrity เก็บในสื่อที่สามารถรักษาความครบถ้วนของข้อมูล และระบุตัวบุคคล (Identification) ที่เข้าถึงสื่อดังกล่าวได้

  • มีระบบการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่จัดเก็บ และกำหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของข้อมูล และไม่ให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ เช่น การเก็บไว้ใน Centralized Log Server หรือการทำ Data Archiving หรือทำ Data Hashing เป็นต้น เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่เจ้าของหรือผู้บริหารองค์กรกำหนดให้สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ เช่น ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศขององค์กร (IT Auditor) หรือบุคคลที่องค์กรมอบหมาย เป็นต้น รวมทั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

  • สามารถระบุตัวตนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ Authentication บน Proxy Server (คัดลอกจาก ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เล่มที่ 124 ตอนพิเศษ 102ง วันที่ 23 สิงหาคม 2550 หน้า 5 ข้อ 8)

 
คุณสมบัติของบริการ
  •  สามารถเลือกใช้บริการให้เหมาะสมกับงบประมาณที่ต้องการ และตอบโจทย์พ.ร.บ.คอมพ์ 50 ได้อย่างลงตัว

  •  มีระบบรักษาความปลอดภัยรองรับการจัดส่งและเก็บข้อมูล ทั้ง Data Encryption และ Certificate Authority

  •  มี Data Backup หมดปัญหาเรื่องข้อมูลสูญหาย 

  •  สะดวกสบายในการบริหารจัดเก็บ และบริการข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น

  •  สามารถส่งข้อมูลแบบ Transmission Control Protocol (TCP) ไปยัง Centralized จนเสร็จสมบูรณ์

  •  สามารถตั้งเวลาในการจัดส่งข้อมูลได้ ไม่รบกวนการใช้งานอินเตอร์เน็ตในช่วงเวลาทำงาน

  •  มีระบบตรวจสอบการใช้งาน Log Management System ผ่านหน้าเว็บไซต์ตลอด 24 ชั่วโมง

  •  ช่วยประหยัดต้นทุนในการจัดการและดูแล ลดความยุ่งยากในการดำเนินการ มีวิศวกรคอยดูแลให้ตลอด 24 ชั่วโมง

  • อุปกรณ์เครื่อง Server เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล Software ในการบันทึก และจัดเก็บข้อมูล พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ และ Software รวมถึงการดูแลเครื่อง และการจัดทำรายงาน

 

บทกำหนดโทษ
ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
มาตรา ๕ เข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ ไม่เกิน ๖ เดือน ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๖ ล่วงรู้มาตรการป้องกัน ไม่เกิน ๑ ปี ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๗ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ ไม่เกิน ๒ ปี ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไม่เกิน ๓ ปี ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๙ การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๐ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ 
มาตรา ๑๑ สแปมเมล์
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่มี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๒ การกระทำต่อความมั่นคง
(๑) ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(๒) กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ
วรรคท้าย เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

ไม่เกิน ๑๐ ปี
๓ ปี ถึง ๑๕ ปีี
๑๐ ปี ถึง ๒๐ ปี
+ ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๖๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มี
มาตรา ๑๓ การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่ง ไม่เกิน ๑ ปี ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๔ การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๕ ความรับผิดของ ISP ไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๖ การตัดต่อภาพผู้อื่น ไม่เกิน ๓ ปี ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ 02 225 5844 กด 4

  • ฝ่ายการตลาดองค์กร 02 255 5844 กด 1 (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น.)

  • อีเมล์ webmkt@isp-thailand.com

 

 

หากท่านสนใจบริการ กรุณากรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ 

 

 ติดต่อสอบถาม
ใส่ตัวอักษรที่อยู่ด้านบน